ประวัติเครื่องปั้นดินเผา

ประวัติเครื่องปั้นดินเผา






        เครื่องปั้นดินเผา มีความผูกพันกับการดำรงชีวิตของมนุษย์มาตั้งแต่ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เพราะมนุษย์ได้ใช้เป็นเครื่องใช้ไม้สอยในชีวิต ประจำวัน บรรจุอาหารและสิ่งของ ฉะนั้นจึงได้มีการประดิษฐ์คิดค้น และปรับปรุงเทคโนโลยีต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา จากการสำรวจแหล่งโบราณ คดีในประเทศไทย พบว่านับตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 15-16 เป็นต้นมา ในพื้นที่ของราชอาณาจักรไทยได้ปรากฏแหล่งเตาเผาตั้งกระจัดกระจาย อยู่มากมายหลายแห่ง รวมทั้งได้มีการค้นพบเครื่องปั้นดินเผาเป็นจำนวน มากมายหลายชนิดทั้งที่ผลิตจากแหล่งเตาเผาในราชอาณาจักรไทยและ ที่ผลิตจากแหล่งเตาในต่างประเทศ ซึ่งได้ถูกนำมาเพื่อใช้สอยและจำหน่าย ให้กับกลุ่มชนบางกลุ่ม เครื่องปั้นดินเผาเหล่านี้ถูกผลิตและตกแต่งด้วย เทคนิคและลวดลายที่แตกต่างกันออกไปตามความสามารถของช่างใน แต่ละท้องถิ่นหรือตามสภาพที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของแต่ละชุมชน ซึ่ง บางแห่งอาจมีแหล่งดินที่อุดมสมบูรณ์เอื้ออำนวยต่อการผลิตเครื่องปั้น ดินเผา นอกจากนี้ จากการที่ชุมชนบางแห่งมีพื้นที่ติดต่อกันหรือมีการ ทำการค้าร่วมกัน จึงทำให้อิทธิพลต่าง ๆ สามารถส่งผ่านไปยังอีกชุมชน หนึ่งได้อย่างง่ายดายก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนศิลปะและเทคโนโลยี ซึ่งกันและกัน ต่อมาจึงมีพัฒนาการของตนเอง ที่แตกต่างออกไปชุมชนบางแห่งก็อาจ มีพัฒนาการทางการผลิตที่เป็นของตนเอง โดยมิได้รับอิทธิพลจากภายนอก ซึ่งในระยะแรกจะผลิตขึ้น เพื่อใช้ในกลุ่มชนของตนเองก่อนต่อมาจึงสามารถ พัฒนาจนกลายเป็น อุตสาหกรรมที่ยิ่งใหญ่ และมีการส่งไปจำหน่ายเป็นสินค้า ออกให้แก่ชุมชนใกล้เคียง                                                                    

     ประวัติเครื่องปั้นดินเผาไทย

   






      ยุคหินกลาง พบเครื่องปั้นดินเผาผิวเคลือบมีความเงาและเครื่องปั้นดินเผา ลายเชือกทาบ สมัยหินใหม่ พบเครื่องปั้นดินเผาที่มีรูปแบบและลวดลายแปลกใหม่เพิ่มขึ้นทีมีทั้งลายเรียบๆ ธรรมดาไปจนถึงลายที่มีความวิจิตรงดงามมาก ภาชนะสมัยหินใหม่ตอนต้นมีจุดเด่นคือ มีที่รองรับถาวร บ้างก็เป็นขากลวง 3 ขา มีรูเจาะไว้ 3 รู เพื่อไล่อากาศ ยุคโลหะ ในยุคนี้ได้ถือเอางานเครื่องปั้นดินเผาเป็นหัตถกรรมดั้งเดิม ที่ค่อยๆ วิวัฒนาการด้านเทคโนโลยีขึ้นเรื่อยๆ เครื่องปั้นดินเผาที่นิยมมากในวัฒนธรรมของซานคือ การทำลายเส้นขนาน ลายรูปสามเหลี่ยม ลายก้นขด ลายวงกลม ลายทแยง เครื่องปั้นดินเผาสมัยทวารวดี แบ่งออกเป็น 6 ระยะดังนี้ ระยะที่ 1 ใช้เหล็กสัมฤทธิ์ทำเครื่องปั้นดินเผาแบบต่างๆ ระยะที่ 2 เครื่องปั้นดินเผาในระยะนี้ได้รับอิทธิพลจากอินเดีย เป็นแบบเรียบสีแดง ระยะที่ 3 ได้พบเครื่องปั้นดินเผาเคลือบที่เก่าแก่ที่สุดที่ ต. จันเสน พยุหะคีรี พบวัตถุชิ้นเล็กๆ 2 ชิ้นเคลือบสีน้ำตาลอมเขียวเนื้อแกร่ง นอกจากนี้ยังมีเครื่องปั้นดินเผาอื่นที่เนื้อแกร่งและสีมัน สวยงามมาก ระยะที่ 4 ได้พบเครื่องปั้นดินเผามากขึ้น แสดงว่า ต.จันเสน ไม่ใช่หมู่บ้านเล็กๆ แล้ว ระยะที่ 5 พบรูปสิงโตดินเผา รูปปั้นผู้ชาย เครื่องปั้นดินเผาในยุคนี้แบ่งเป็น 2 แบบคือ แบบที่ 1 : พบเครื่องปั้นดินเผาที่มีลวดลายต่างๆ ประทับอยู่ เช่น ลายช้าง หงส์ วัวและนักรบ แบบที่ 2 : พบไหปากผาย รอบปากสีแดงและขาว ระยะที่ 6 พบเครื่องปั้นดินเผาเพียง 2 – 3 แบบ แต่ดูเหมือนว่าจะเผาในเตาอย่างแท้จริง ไม่ได้เผากลางแจ้งเหมือนแต่ก่อน แม้ว่าจะไม่ได้เผาเคลือบแต่ก็เผาได้อย่างสม่ำเสมอและแข็งดี เครื่องปั้นดินเผาในสมัยศรีวิชัย พบเครื่องปั้นดินเผาในบริเวณสนามบิน เครื่องปั้นดินเผาสมัยลพบุรี ได้พบเครื่องปั้นดินเผาเคลือบสีน้ำตาล (ไทยขอม) เป็นทั้งรูปคนและสัตว์ และเครื่องปั้นดินเผาสีน้ำตาลและน้ำเงินอ่อนคล้ายสังคโลก เครื่องปั้นดินเผาเชียงแสน ยุคนี้สามารถทำเคลือบได้หลายชนิด ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนความคิดระหว่างไทยกับจีน เครื่องปั้นดินเผาสมัยสุโขทัย มีการทำเครื่องปั้นดินเผาไฟสูงเลียนแบบจีนเป็นสินค้าส่งออก อีกอย่างหนึ่งเรียกว่าสังคโลก การผลิตเป็นการทำงานแบบอุตสาหกรรม สีของเครื่องเคลือบมักเป็นสีเขียวไข่กามีสีน้ำตาลบ้างประปราย อีกทั้งยังพบเตาเผาถึง 49 เตา ซึ่งบ่งชี้ได้ว่าในสมัยสุโขทัยได้ผลิตเครื่องปั้นดินเผาเป็นอุตสาหกรรม                                                                                      

              เครื่องปั้นดินเผาเกาะเกร็ด









ตำนานเครื่องปั้น การทำเครื่องปั้นดินเผาของชาวไทยเชื้อสายมอญที่ตำบลเกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี สืบทอดมาจากบรรพบุรุษชนชาติมอญที่อพยพเข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย สันนิษฐานว่าคงจะมีอาชีพทำเครื่องปั้นดินเผามาตั้งแต่อยู่เมืองมอญก่อนที่จะอพยพเข้ามาในประเทศไทย เมื่อชาวมอญได้รับพระบรมราชานุญาต ได้ตั้งบ้านเรือนบริเวณปากเกร็ดซึ่งสภาพดินเหมาะสมในการทำเครื่องปั้นดินเผา เมื่อมาตั้งบ้านเรือนบริเวณเกาะเกร็ดหมู่ ๑, ๖, ๗ จึงกลายเป็นแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผา ซึ่งมีชื่อเรียกตามภาษามอญว่า กวานฮาโม (บ้านล่าง), กวานฮาตาว(บ้านบน), กวานอาม่าน, กวานโต้ และ กวานอะล้าด เครื่องปั้นดินเผาของชาวเกาะเกร็ดมีหลายขนาดตั้งแต่ขนาดใหญ่จนถึงขนาดเล็ก ตกแต่งแบบเรียบง่ายหรืออาจมีการแกะสลักลวดลายบ้างเพียงเล็กน้อย ได้แก่ โอ่ง อ่าง ครก กระปุก และโอ่งพลู เป็นต้น ส่วนเครื่องปั้นดินเผาที่ทำขึ้นเพื่อมอบแก่บุคคลสำคัญ ก็จะมีหลายรูปแบบ เช่น หม้อน้ำ โอ่งสลักลายวิจิตร ซึ่งสามารถสั่งทำได้เกือบทุกรูปแบบตามความต้องการของผู้สั่ง ทางราชการได้เห็นคุณค่าของการทำเครื่องปั้นดินเผาจึงได้ถือเอา หม้อน้ำลายวิจิตร เป็นตราสัญลักษณ์ประจำจังหวัดนนทบุรี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น